ที่มา

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต นำส่ง และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าเพื่อรองรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและเตรียมเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การนำนวัตกรรมเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการพลังงาน เช่น ระบบ Smart Grid และ Micro Grid มาช่วยบริหารจัดการพลังงานและตอบสนองการทำงานอย่างชาญฉลาด ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สามารถผลิตไฟฟ้า เพื่อการใช้งานและการขายเข้าสู่ระบบได้ (prosumers) 


โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโปรโตคอล การสื่อสารระหว่างระบบเครือข่ายตลาด แพลตฟอร์มการดำเนินงานในส่วนของผู้ใช้งานและ Prosumers ที่สามารถช่วยในการตรวจสอบการผลิตไฟฟ้าแบบเรียลไทม์ และการซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง  Micro Grid พร้อมพยากรณ์การผลิตและความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างการทำงานโครงข่ายพลังงานไฟฟ้าอัจฉริยะขนาดเล็ก (Smart Micro Grid) และแพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (ETP) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กระทรวงพลังงาน  โดยมีการต่อยอดจากโครงการเดิมภายใต้โครงการ ERC Sandbox “ศรีแสงธรรมโมเดล  จ.อุบลราชธานี” สู่การนำร่องต้นแบบการบริหารจัดการพลังงานโครงข่ายและการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแบบ Peer to peer ที่สมบูรณ์ เพื่อนำไปขยายผลหรือเป็นข้อมูลประยุกต์ใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง Micro Grid ผ่านโครงข่ายไฟฟ้าระดับชาติ (NETP: National Energy Trading Platform) ในอนาคต

ภาพบรรยากาศขณะลงพื้นที่ เพื่อพิจารณาพื้นที่ ดำเนิินงานในโครงการ ร่วมกับ วัดป่าศรีแสงธรรม รร.ศรีแสงธรรม
และผู้มีส่่วนเกี่ยวข้อง และการเริ่มดำเนินการปลููกพืช และระบบ Smart Farm ซึ่งเป็นส่่วนหนึ่งของงาน Agrivoltaics

เป้าหมาย

การพัฒนา Smart Micro Grid โดยเน้นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เพื่อบริหารจัดการไฟฟ้าในโครงข่ายฯ แบบเชื่อมต่อโครงข่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พร้อมทั้งพัฒนาแพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (ETP) ที่สามารถซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง consumers และ prosumers ภายในโครงข่ายฯ (ที่มีการซื้อขายไฟฟ้าเข้าโครงข่ายของ กฟภ.) สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างรายได้จากการซื้อขายไฟฟ้าภายในชุมชน

การดำเนินงานวิจัย

ทีมวิจัยร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ดำเนินการดังนี้
1. ประสานงานสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อปลดล็อคข้อจำกัดบางประการและทำให้การซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to peer สามารถขับเคลื่อนได้
2. พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาต้นแบบโครงข่ายไฟฟ้าชุมชนแบบอัจฉริยะ (Smart Micro Grid) ที่ประกอบด้วย Prosumer, Consumer, Generator, Energy Storage system และระบบบริหารจัดการพลังงานและแพลตฟอร์มการซื้อขายไฟฟ้า (ETP) ซึ่งดำเนินการต่อยอดภายใต้โครงการศรีแสงธรรม โมเดล จ.อุบลราชธานี พร้อมการทดสอบระบบฯ
3. สร้างเครือข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย เพื่อขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในระบบโครงข่ายอัจฉริยะจากพลังงานหมุนเวียน
4. สนับสนุนการสร้างความผูกพันของเยาวชนรุ่นใหม่ภายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในกลไกการทำงานระหว่างชุมชนและสถาบันการศึกษาอย่างชัดเจน เช่น พัฒนาทักษะเดิม (Upskill) เพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) เพื่อให้เยาวชนในชุมชนสามารถใช้งาน ดูแล และซ่อมบำรุงเทคโนโลยีได้

ภาพบรรยากาศดำเนินการปลููกพืช ในระบบ Smart Farm ซึ่งเป็็นส่่วนหนึ่งของงาน Agrivoltaics ในระบบSolar sharing

ผลงานวิจัย

1. Smart Micro Grid (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) สำหรับบริหารจัดการไฟฟ้าในโครงข่ายฯ พร้อมทั้งแพลตฟอร์มตลาดกลางซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (ETP) 1 แห่ง ที่มีกลไกตลาดเหมาะสมและสามารถซื้อขายไฟฟ้ารวมทั้งการขายไฟฟ้าเข้าโครงข่ายของ กฟภ. ได้
2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านมาตรการสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to peer เพื่อรองรับการประยุกต์ซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง Micro Grid ผ่านโครงข่ายไฟฟ้าระดับชาติ (NETP: National Energy Trading Platform) อย่างเป็นรูปธรรมจำนวน 1 รายการ

สถานภาพการวิจัย

พัฒนาระบบซอฟแวร์ ETP และติดตั้งระบบ Smart Microgrid, ระบบ Solar sharing ที่วัดป่าศรีแสงธรรม และระบบขนาดเล็กบางส่วนภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย พร้อมดำเนินการปลูกพืชร่วมกับ Solar sharing เพื่อนำร่องต้นแบบการบริหารจัดการพลังงานโครงข่ายและการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแบบ Peer to peer และนำไปสู่การขยายผลหรือเป็นข้อมูลประยุกต์ใช้ในการซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง Micro Grid ผ่านโครงข่ายไฟฟ้าระดับชาติ (NETP: National Energy Trading Platform) ในอนาคต รวมถึงการเตรียมนำเสนอผลงานภายในงาน ประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC 2022 ) “BCG SHOWCASE” ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในช่วงระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน พ.ศ 2565

แผนงานวิจัยในอนาคต

จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในด้านมาตรการสนับสนุนการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Peer to peer เพื่อรองรับการประยุกต์การซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง Micro Grid ผ่านโครงข่ายไฟฟ้าระดับชาติ (NETP: National Energy Trading Platform) อย่างเป็นรูปธรรม

รายชื่อทีมวิจัย

ดร.กอบศักดิ์ ศรีประภา (หัวหน้าโครงการ), ดร.นุวงศ์ ชลคุป, ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล, ดร.พีระวุฒิ ชินวรรังสี, ดร.กัมปนาท ซิลวา, ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร (ศอ.), ดร.เกรียงไกร โมสาลียา (ศช.), ดร.จิราวรรณ มงคลธนทรรศ , ดร.ชาญเดช หรูอนันต์ (สก.), ดร.ภาวดี มีสรรพวงศ์ (สก.), ดร.อัมพร โพธิ์ใย (สก.), นางสาวดวงหทัย ตาชูชาติ (สก.), นายสิริมงคล สังฆะวงศ์, นายวิชิต แสงสุวรรณ์, นายสุพจน์ โสดารัตน์, นางสาวประณุดา จิวากานนท์, นายพิชญ์พงษ์ จันทา, นางสาวศศิวิมล ทรงไตร (ศอ.), นางสาวปาริชาต ม่วงอร่าม (ศอ.), นายรุ่งทวี ปิยนันท์จรัสศรี (สก.), นายสิงหนาท พวงวรินทร์ (สก.) และนายสุวรรณ ยานุวงศ์ (สก.)

ติดต่อ

ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ
ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
โทรศัพท์ 0 2564 6900 ต่อ 2712
อีเมล kobsak.sriprapha@nectec.or.th, nuwong.cho@entec.or.th

© 2022 All rights reserved​

ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ

Print Friendly, PDF & Email