การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางด้านพลังงานของ ENTEC ต้องอาศัยการสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐาน และบุคลากรที่มีความสามารถ รวมทั้งความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาจากทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อก่อให้เกิดเครีอข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ ENTEC มุ่งขับเคลื่อนประเทศไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ สนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและทุกภาคส่วน เพื่อพัฒนาผลงานวิจัยให้สำเร็จ และผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจและสังคม ลดการนำเข้าทางเทคโนโลยีในระยะยาว อันจะนำไปสู่การสร้างความสามรถทางเทคโนโลยี รวมถึงเป็นการเพิ่มความมั่นคงทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจของประเทศ การสร้างเครือข่ายดังกล่าวมีรายละเอียดสรุปได้ดังต่อไปนี้
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ในประเทศ
ENTEC สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศ ดังนี้
- ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ(บพข.) เพื่อดำเนินการวิจัยภายใต้ “โครงการวิจัยและพัฒนาแพล็ตฟอร์มแพ็กแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในประเทศไทย” โดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร 8 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัท เบต้า เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด, บริษัท จีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไอ-มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด, บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท กริชวิช (ประเทศไทย) จำกัด
- ทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อดำเนินการวิจัยภายใต้โครงการ “การพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพชนิดติดไฟยากจากน้ำมันปาล์ม และนำร่องการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน” โดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร 7 แห่ง ได้แก่ บริษัท พี.เอส.พี.สเปเชียลตี้ส์ จำกัด, บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท เจริญชัยหม้อแปลงไฟฟ้า จำกัด และสำนัักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
- ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เพื่อดำเนินการวิจัยภายใต้ “โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ใช้แล้ว” โดยร่วมกับ บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) พัฒนาฐานข้อมูลแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ร่างมาตรฐาน และข้อเสนอแนะการจัดการแผงเซลล์อาทิตย์ที่ใช้แล้ว
- ทีมวิจัยเทคโนโลยีเชื้อเพลิงสะอาดและเคมีขั้นสูง กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อดำเนิน “โครงการการพัฒนาชุดผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีสารประกอบคลอรีนเป็นส่วนประกอบด้วยวิธีทางไฟฟ้าเคมี สำหรับบำบัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานประกอบการด้านสาธารณสุข” โดยศึกษาตัวแปรในการสังเคราะห์สารละลายน้ำอิเล็กโทรไลต์ ที่มีคุณสมบัติสามารถกำจัดเชื้อ SAR-CoV-2 พร้อมทั้งออกแบบชุดอุปกรณ์ต้นแบบ
- ทีมวิจัยเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) “โครงการนำร่องสาธิตการใช้แผงโซลาร์เซลล์ปลดระวางจากโซลาร์ฟาร์มเพื่อสร้างประโยชน์ต่อชุมชน” โครงการนี้เป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มตรวจเช็คแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้แล้ว เพื่อจัดกลุ่มแผงที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานรอบสองในรูปแบบต่างๆ หรือโซลาร์ชัวร์
การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ระหว่างประเทศ
ENTEC สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับพันธมิตรต่างประเทศ ดังนี้
- ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ร่วมมือกับ ASEAN Centre for Energy (ACE) ในโครงการ “Strategic Integration of Electric Vehicle into ASEAN Biofuel Roadmap” ที่ได้รับทุนจาก กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Korea Economic Cooperation Fund: AKEC Fund) เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยในปีแรกได้มีการศึกษารวบรวมข้อมูล และจัดทำแผนที่ (mapping ข้อมูลยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน ที่สามารถเข้าถึงได้บน https://www.entec.or.th/th/asean-rok_evbiofuel/
- ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก The Institute of Energy Economics, Japan (IEEJ) ในการเป็นที่ปรึกษา (consultation) สำหรับการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Thailand-Japan Workshop on Renewable Energy ภายใต้ Smart City towards Carbon Neutrality Concept
- ทีมวิจัยเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน กลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน
ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการวิจัยจากแหล่งทุน
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัย และสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำหรับดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมซัลเฟอร์ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้านความจุพลังงานที่มากกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนปัจจุบัน และจำนวนรอบการใช้งานตามคาดหวัง โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ 2 แห่งคือ Swiss Federal Laboratories for Materials Science and Technology-Empa ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และ Sabanci University Nanotechnology Research and Application Center (SUNUM) ประเทศตุรกี ซึ่งการสร้างความร่วมมือทางด้านการวิจัยนี้เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคลากรในระดับนานาชาติในการดำเนินการวิจัยพัฒนาในศาสตร์ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน หรือวัสดุสำหรับกักเก็บพลังงาน
ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศในโครงการ “การศึกษาการกำหนดทิศทางวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน” เพื่อจัดทำร่างแผนที่นำทางงานวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพในอาเชียน โดยผ่านการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และการรวบรวมข้อมูลจากประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านแบบสอบถามและ focus group discussion workshop แล้วนำข้อมูลและข้อเสนอแนะที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการของงานวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพของอาเซียน และนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอาเซียน ได้แก่ Renewable Energy Sub-Sector Network (RE-SSN), Senior Officials Meeting on Energy (SOME) และ ASEAN Ministers on Energy Meeting (AMEM) เพื่อพิจารณาและรับรองให้เป็นแผนที่นำทางงานวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพในอาเซียนอย่างเป็นทางการ
- ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก United Nations Environment Programme (UNEP) ในเฟสที่ 2 เพื่อขยายผลการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือ International Climate Initiative (IK) ของกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณู และการปกป้องผู้บริโภค แห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Ministry for the Environment, Nature Conservation, Nuclear Safety and Consumer Protections: BMUV) โครงการ “Integrating Electric 2&3 Wheelers into Existing UrbanTransport Modes in Developing and Transitional Countries” ที่มีการดำเนินโครงการใน 6 ประเทศ จาก 2 ภูมิภาค ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม เอธิโอเปีย เคนยา และสาธารณรัฐยูกันดา สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเอธิโอเปีย สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
- ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรงานวิจัยด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ในการดำเนินโครงการ Exploring Co-Benefit Opportunities for Renewable Energy and Energy Efficiency Projects in the APEC Region (EWG 04 2019A) และโครงการ Accommodating Disruptive Technology into RE&EE Policies for Energy Security (EWG 11 2019A) ร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เพื่อส่งเสริมเป้าหมายด้านพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพลังงานใน APEC
- ทีมวิจัยพลังงานทดแทนและประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มวิจัยพลังงานคาร์บอนต่ำ
ได้ดำเนินโครงการ “การขยายผลการประเมินศักยภาพ การคืนสภาพทางพลังงานของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ สู่ภาคเอกชนและเวทีนานาชาติ” โครงการนี้มุ่งเน้นการขยายผล การประเมินศักยภาพการคืนสภาพทางพลังงานของโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์จากโครงการนำร่อง โดยผลักตันให้มี การทดลองการประเมินศักยภาพการคืนสภาพทางพลังงาน ในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของภาคเอกชน ที่สามารถ เชื่อมโยงไปสู่การนำมาตรการคืนสภาพทางพลังงานไปใช้จริง ในโรงไฟฟ้า และมุ่งสร้างการรับรู้และความตระหนักถึง ความสำคัญของการประเมินศักยภาพการคืนสภาพทางพลังงาน ให้กับประเทศสมาชิกอาเชียนและเอเปค โดยอาศัยโอกาสที่ การคืนสภาพทางพลังงานถูกบรรจุเป็นหนึ่งใน ASEAN COSTI 2021 Annual Priorities ที่ช่วยตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลักดันแนวคิดนี้ในภูมิภาค และ สร้างเครือข่ายนานาชาติเพื่อการวิจัย พัฒนาและนำแนวคิด ไปปรับใช้ในอนาคต โดยการผลักดันในภูมิภาคอาเซียน จะดำเนินการร่วมกับแนวร่วมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการ คืนสภาพทางภูมิอากาศและด้านพลังงานทดแทน โดย ดำเนินการผ่านเวทีสำคัญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ พลังงานในอาเซียนและเอเปค เช่น ASEAN Committee on Science, Technology, and Innovation (COSTI), ASEAN Senior Officials Meeting on Energy (SOME), APEC Policy Partnership on Science, Technology and Innovation (PPSTI), APEC Energy Working Group (EWG)
© 2022 All rights reserved
ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ